อาหารที่ขึ้นราแล้ว ยังกินได้อยู่ไหม ?

เราไม่ควรรับประทานอาหารที่มีราขึ้น แต่รู้หรือไม่ว่า อาหารบางชนิด ถึงจะมีราขึ้น แต่ถ้าเรากำจัดส่วนที่มีราออกไป เราก็ยังสามารถรับประทานอาหารส่วนที่เหลือต่อได้ทาง USDA หรือองค์กรอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา ได้ออกคำแนะนำเกี่ยวกับอาหารที่ยังสามารถใช้รับประทานต่อได้ถึงแม้จะมีราขึ้นแล้วเพียงแต่ต้องกำจัดส่วนที่มีราออกไปให้หมดก่อน และอาหารที่จะต้องทิ้งทันทีถ้าพบราไว้ดังนี้

 

อาหารที่รับประทานต่อได้

• ชีสแบบแข็ง โดยควรตัดเนื้อชีสบริเวณที่อยู่รอบๆ ราออกไปประมาณ 1 นิ้วก่อนรับประทานส่วนที่เหลือ

• ซาลามีและแฮมแบบแห้ง

• ผลไม้และผักเนื้อแน่นที่มีส่วนผสมของน้ำต่ำ เช่น ฟักทอง และแครอท โดยควรตัดเนื้อบริเวณที่อยู่รอบๆ ราออกไปประมาณ 1 ซ.ม.ก่อนรับประทาน


อาหารที่ควรทิ้งทันทีเมื่อมีเชื้อรา

• อาหารเหลือปรุงสุกที่มีส่วนผสมของคาร์โบไฮเดรตและเนื้อสัตว์ อาหารปรุงสุกเหล่านี้มักมีความชื้นสูง แลทำให้เชื้อราแพร่ขยายไปทั่วหมดแล้ว

• ชีสแบบอ่อน

• แยมผลไม้

• โยเกิร์ต

• ผักและผลไม้เนื้อนิ่ม

• ขนมปัง ขนมปังที่เลยวันหมดอายุไปแล้วยังคงปลอดภัยที่จะรับประทานได้ แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่มีราขึ้น ควรทิ้งขนมปังนั้นทันที

• ถั่วชนิดต่างๆ

 

เมื่อกินอาหารที่ปนเปื้อน "เชื้อรา" เข้าไป จะเกิดอันตรายหรือไม่

ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดพันธุ์ของเชื้อราหากเป็นราที่ไม่มีพิษ ก็อาจไม่เกิดอาการอะไรเลย แต่ถึงเป็นชนิดที่ไม่มีพิษ แต่ถ้าคนนั้นแพ้สารจากเชื้อรา ก็อาจจะอันตรายได้ เช่น เชื้อ ราเพนนิซิเลี่ยม Penicillium คนปรกติกินเข้าไปจะไม่อันตราย แต่ถ้าเป็นคนที่แพ้ก็อาจเป็นอันตรายได้

คนที่แพ้เชื้อราบางชนิด อาจมีอาการรุนแรงคือความดันต่ำ หายใจลำบาก หัวใจล้มเหลว ช็อก และเสียชีวิตได้หากเป็นเชื้อราชนิดที่สร้างสารพิษที่ไม่รุนแรง และมีปริมาณน้อย อาจทำให้ปวดท้อง ท้องร่วง คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ และอ่อนเพลียได้ แต่ถ้าเป็นเชื้อราที่สร้างสารที่มีพิษ ก็อาจส่งผลต่อสุขภาพได้ เช่น เป็นพิษต่อตับ ไต ระบบประสาท กล้ามเนื้อ และระบบภูมิคุ้มกัน

 

วิธีหลีกเลี่ยง "เชื้อรา" ในอาหาร

- สังเกตอาหารก่อนทานทุกครั้ง หากพบว่า "ขึ้นรา" ให้หลีกเลี่ยงการทานและการสูดดมเด็ดขาด

- ให้เก็บใส่ถุง มัดให้มิดชิด และทิ้งทันที โดยเฉพาะในอาหารปรุงสุก อาหารสำเร็จรูป ขนมปัง เนื้อสัตว์ โยเกิร์ต ผักผลไม้เนื้ออ่อน แม้พบเชื้อราเพียงเล็กน้อย ก็ให้ทิ้งทั้งหมด

- ควรเก็บอาหารและพืชผักที่ขึ้นราได้ง่าย เช่น หอม กระเทียม ถั่วลิสงป่น กุ้งแห้ง ไว้ในที่แห้ง และมีอากาศถ่ายเท

- ผักชนิดแข็ง เช่น หัวแครอท มันเทศ กะหล่ำปลี หากมีราขึ้น ให้ตัดส่วนที่เป็นราทิ้งไป และนำส่วนที่เหลือมาปรุงอาหารได้ เนื่องจากสายของราไม่แผ่เข้าไปในเนื้ออาหาร



LSF Packaging รับผลิตแพคเกตจิ้ง ขั้นต่ำน้อย ราคาถูก ออกแบบแพคเกจจิ้ง ถุงฟอยล์ คุณภาพดี ราคาถูก 

Line: @lsfpackaging

Tel. 02-066-9090 , 080-987-9005 , 082-506-0780 

Email : lsfpackaging@gmail.com

Visitors: 1,559,558