ถุงแบบไหนเข้าไมโครเวฟได้

ถุงแบบไหนเข้าไมโครเวฟได้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

   


   ถุงเข้าไมโครเวฟได้ ถุงอุ่นอาหารเข้าไมโครเวฟได้ นวัตกรรมใหม่ MICROWAVE นวัตกรรมใหม่ที่ตอบโจทย์คนยุดปัจจุบัน ถุงที่เราซื้อ หรือได้มาจากข้างนอกบ้านเคยสงสัยกันไหมว่าปกติแล้วเมื่ออยู่ที่บ้าน คอนโด ก็ไม่เอาถุงพลาสติกเข้าไมโครเวฟ แต่ทำไมเวลาซื้อไส้กรอกในร้านสะดวกซื้อ  พนักงานถึงตัดปากถุงแล้วเอาเข้าอุ่นในไมโครเวฟได้ทั้งซอง  เราก็รับมากินโดยที่ไม่รู้สึกว่าข้าวที่อุ่น หรือกลัวว่าจะเกิดอันตราย

   นั่นก็เพราะ ถุงบรรจุภัณฑ์ชนิดอ่อน (Flexible Packaging) บรรจุภัณฑ์นั้นใช้พลาสติกลามิเนต ซองลามิเนต ฟิล์มลามิเนตชนิดพิเศษในการผลิต เป็นถุงทนความร้อนสูง ถุง หรือซองเหล่านี้สามารถนำเข้าไมโครเวฟได้ (microwave heating) ไม่ละลายและไม่มีสารพิษปนเปื้อนในอาหาร หรือสังเกตได้จากบรรจุภัณฑ์จะมีสัญญาลักษณ์รูปไมโครเวฟ หรือ Microwavable ก็จะมั่นใจได้ในระดับหนึ่ง

   ในปัจจุบันกล่องข้าวในบ้านเรา โดยปกติแล้วเวลาอุ่นอาหารด้วยไมโครเวฟ หากเป็นแบบกล่องปิดซีล ก็ต้องแง้มฝา หรือเจาะฝาพลาสติกด้วยมีดหรือกรรไกร  และนำไปอุ่นในไมโครเวฟ ตามโปรแกรมที่ตั้งค่าไว้ เพื่อให้อาหารที่ออกมาร้อนขึ้น  หากเป็นแบบถุงหรือซองก็ต้องตัดปากซองก่อนนำเข้าไมโครเวฟ เพราะขณะที่อุ่นไมโครเวฟ ความร้อนจะทำให้อากาศมีความดันที่สูงขึ้นทำให้ซองที่ปิดสนิทมีการขยายตัว และไอน้ำที่เกิดขึ้นมีแรงดันสูง ไม่มีที่ระบายเกิดการบวมขึ้น จนทำให้ซองอาหารหรือซองระเบิดได้ การที่ต้องเจาะหรือตัดซองก่อนอุ่นไมโครเวฟนี้เพื่ออระบายแรงดัน และไอน้ำในอาหาร และบรรจุภัณฑ์ที่ได้รับความร้อนด้วย

   แต่เราเคยสังเกตไหมว่าหากเราตั้งความร้อนที่นานเกินไป ไอน้ำดังกล่าวที่ออกไปจากอาหาร และซองบรรจุภัณฑ์ ทำให้อาหารที่ได้รับออกมาร้อนตามที่ต้องการแต่อาหารนั้นมีแห้งบ้าง หรือไม่ก็แข็งบ้าง เนื่องด้วยความชื้นในอาหารระบายออกไปมากเกิน จากช่องว่างที่เราตัดบรรจุภัณฑ์นั้นเอง หรือบางกรณีที่เราให้ทางร้านอุ่นอาหารแต่เรายังไม่ได้รับประทานทันที และใส่รวมกันกับสินค้าอื่นๆ และต้องเดินทางอาจทำให้หกเลอะเทาะ หรือ มีสิ่งสกปกรกเข้าไปในซองได้

 

ถุงในปัจจุบันที่ที่งในและต่างประเทศใช้กัน

  1. ถุงลามิเนตที่ไม่ต้องตัดปากถุง ยังรักษาความชื้อ และระบายความร้อน แรงดันที่ขอบข้างๆ ของถุงหลังจากที่เข้าไมโครเวฟ ในการผลิตถุงอุ่นอาหารไมโครเวฟ (microwavable pouch) โดยที่ไม่ต้องตัดเปิดซอง (No Need to cut) เนื่องจากผู้บริโภคบางคนเองไม่สะดวกฉีกบ้าง หรือฉีกบรรจุภัณฑ์แล้วสินค้าก็มีการกระเด็นออกจากถุง ซองได้ รวมทั้งเรายังอุ่นอาหารแล้วยังไม่ร้อนจนได้ที่ หรือร้อนจนมากเกินไป ได้ที่ทางโรงงานเองได้พัฒนาซอง บรรจุภัณฑ์ที่สามารถนำอาหารแช่แข็ง หรือ แช่เย็นนั้น เข้าไมโครเวฟได้เลย  เพราะซองสามารถระบายแรงดันอากาศภายในออกมาได้ขณะอุ่นไมโครเวฟ
  2. ถุงลามิเนตที่ไม่ต้องตัดปากถุง ยังรักษาความชื้น และระบายความร้อน แรงดันที่ช่องระบายด้านหน้าหลังจากที่เข้าไมโครเวฟ ในระหว่างที่เตาไมโครเวฟมีการทำงาน โดยมันจะมีช่องที่ปิดอยู่ หากมีความร้อน และแรงดันเกินช่องนี้จะเปิดออกเพื่อระบายแรงดันซึ่งเป็นตำแหน่งที่ให้อากาศหรือแรงดันออกได้โดยไม่กระทบกับรอยซีลต่างๆ นอกจากนี้ ถุงพลาสติกบางชนิดนี้ ยังทนความร้อนสูงได้ถึง 120-130 องศาเซลเซียส ทนแรงดันสูงๆ ได้  ทำให้ผู้ผลิตอาหารสามารถบรรจุอาหารในซองแล้วฆ่าเชื้อด้วยความร้อนและแรงดันสูงๆ Boiling, ถุงรีทอร์ทเพาช์บรรจุอาหารต้ม Retort ได้เหมือนกับอาหารบรรจุกระป๋องโดยที่ผู้บริโภคสามารถอุ่นอาหารที่ใส่ในถุงพลาสติกทนความร้อนแบบนี้ได้โดยการนำไปต้มได้โดยตรง หากที่บ้าน, สถานที่ต่างๆ ของผู้บริโภคไม่มีไมโครเวฟก็สามารถอุ่นทานอาหารได้สะดวกยิ่งขึ้น
  3. ถุงบางประเภทก็สามารถเข้าไมโครเวฟโดยที่เข้าไปละลายน้ำแข็ง  และสามารถทำให้สุกได้โดยง่ายเช่นกัน ถุงลักษณะนี้จะเป็นถุงลามิเนต ซองลามิเนตที่เป็นพวกฟิล์มชนิดต่างๆ มาประกอบกันเพื่อให้มีคุณสมบัติดีกว่าถุงทั่วไป
  4. ถุงบางประเภทก็สามารถนำมาใส่ในหม้อต้มเดือดอุณหภูมิที่ไม่เกิน 80 องศาเซลเซียส เพื่อรักษารสชาต และละลายน้ำแข็งได้พวกนี้เองรสชาตอาหารจะดีกดีกว่าในไมโครเวฟอีกด้วย
  5. ถุงป๊อบคอร์น ที่เราเคยเห็นก็สามารถรักษารอยซีลได้ และถุงยังเป็นปกติได้ตลอดระยะเวลาทำงานไมโครเวฟ

ข้อควรระวัง ถุง ซอง บรรจุภัณฑ์สามารถกำหนดเงื่อนไขในการออกแบบได้ดังนี้

- วัสดุที่สามรถเลือกใช้งานได้ต้องเป็นฟิล์ม หหรือพลาสติกที่ไม่มีส่วนผสมของอลูมิเนียม หรือเมทัลไลซ์

- ขนาดของบรรจุภัณฑ์ต้องสามารถเข้าไมโครเวฟได้

- ภาพพิมพ์นั้นจะขึ้นกับการออกแบบของนักออกแบบ และสีที่ใช้งานต้องทนต่ออุณหภูมิและใช้กับอาหารได้

 

อ้างอิงจาก http://www.synergypak.co.th/

Visitors: 1,559,563