มาตรฐาน BRC
มาตรฐาน BRC
BRC ย่อมาจากคำเต็มว่า The British Retail Consortium หรือ สมาคมผู้ประกอบธุรกิจค้าปลีกแห่งสหราชอาณาจักร เป็นมาตรฐานความปลอดภัยทางอาหาร (food safety) ที่เกิดจากการรวมกลุ่มขององค์กรค้าปลีกขนาดใหญ่ เช่น Tesco, Sainsbury's, Iceland Foods, Waitrose, Safeway, The Co-operative Group และ Asda Stores มาตรฐาน BRC ฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 4 (issue 4) มีผลบังคับใช้เมื่อปีค.ศ. 2005
วัตถุประสงค์หลักของมาตรฐาน BRC
เป็นการระบุข้อกำหนดด้านความปลอดภัย และคุณภาพที่ต้องมีการกระทำให้สอดคล้องสำหรับองค์กร ที่สามารถตรวจประเมินโดยบุคคลที่สาม ในการตรวจประเมินสถานประกอบการที่ต้องการแสดงความสอดคล้องกับมาตรฐาน BRC
มาตรฐาน The British Retail Consortium (BRC) สอดคล้องกับระบบ HACCP และ
CR :http://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/1702
ส่วนประกอบหลักของ The British Retail Consortium มาตรฐาน BRC เป็นมาตรฐานที่จัดทำขึ้นมาโดยสมาคมผู้ประกอบธุรกิจค้าปลีก (The British Retail Consortium) ซึ่งมาตรฐานดังกล่าว
ประกอบด้วย 6 ส่วนหลักๆ ดังนี้
- HACCP system
- ระบบบริหารคุณภาพ (Quality Management System)
- มาตรฐานการควบคุมสภาพแวดล้อมของสถานประกอบการ (Factory Environment Standards)
- การควบคุมผลิตภัณฑ์ (Product Control)
- กระบวนการ (Process Control)
- บุคลากร (Personnel)
โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. HACCP System
องค์กรต้องดำเนินการจัดทำระบบ HACCP ตามมาตรฐานของ codexHACCP องค์กรต้องดำเนินการจัดทำโปรแกรมพื้นฐาน (prerequisite programme) เพื่อสนับสนุนระบบ HACCP และควบคุมอันตรายที่เกิดขึ้น ได้แก่ ดำเนินการวิเคราะห์อันตราย หาจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม กำหนดค่าวิกฤต กำหนดระบบเพื่อตรวจติดตาม การควบคุมจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม กำหนดวิธีการแก้ไข เมื่อตรวจพบว่าจุดวิกฤตที่ต้องควบคุมเฉพาะจุดใดจุดหนึ่งไม่อยู่ภายใต้การควบคุม กำหนดวิธีการตรวจสอบเพื่อยืนยันประสิทธิภาพการดำเนินงานของระบบ HACCP กำหนดวิธีการจัดเก็บเอกสารและบันทึกข้อมูล ซึ่งจะต้องมีการนำไปใช้อย่างทั่วถึงครอบคลุมทั้งองค์กรและธำรงรักษาไว้อย่างต่อเนื่อง บนพื้นฐานการประเมินความเสี่ยงที่พิจารณาทั้งโอกาสการเกิดและความรุนแรง การดำเนินการจัดทำนั้นต้องได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหาร ซึ่งต้องแสดงความมุ่งมั่นในการจัดทำ ตลอดจนการตั้งทีมงานและหัวหน้าทีม
2.ระบบบริหารคุณภาพ (Quality Management System)
องค์กรต้องจัดทำระบบบริหารคุณภาพ ซึ่งต้องจัดทำเป็นเอกสาร นำไปใช้ให้ครอบคลุมทั่วทั้งองค์กร ได้แก่ นโยบายและคู่มือคุณภาพ โครงสร้างองค์กร ความรับผิดชอบ ผู้มีอำนาจจัดการ การควบคุมเอกสาร ระเบียบวิธีการปฏิบัติงาน การจัดเก็บบันทึกข้อกำหนดผลิตภัณฑ์ การตรวจติดตามภายใน การปฏิบัติการแก้ไข และการประเมินผู้ส่งมอบ โดยจะต้องมีการทบทวนและปรับปรุงตามความเหมาะสมและสม่ำเสมอ องค์กรต้องมีการจัดทำนโยบายคุณภาพที่แสดงถึงความมุ่งมั่นที่จะผลิตสินค้าที่มีความปลอดภัย สอดคล้องตามกฎหมาย และรับผิดชอบต่อลูกค้า คู่มือคุณภาพที่องค์กรจัดทำจะต้องครอบคลุมข้อกำหนดในมาตรฐานของ BRC โดยข้อกำหนดนั้นเน้นในเรื่องการตรวจติดตามภายใน การปฏิบัติการแก้ไขและการสอบกลับเมื่อสินค้ามีปัญหา
3. มาตรฐานการควบคุมสภาพแวดล้อมของสถานประกอบการ (Factory Environment Standards
บริเวณที่ตั้งของโรงงานต้องป้องกันการปนเปื้อน เพื่อให้มีการผลิตสินค้าที่มีความปลอดภัย สอดคล้องตามกฎหมาย โดยต้องควบคุมดูแลสิ่งแวดล้อมทั้งภายนอกและภายในให้มีความเหมาะสม รวมถึงมาตรการต่างๆ ต้องมีการทบทวนและนำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ตั้งแต่การเลือกทำเลที่ตั้ง แผนผังและแผนภูมิการผลิต โครงสร้างอาคารโรงงาน เครื่องมือ เครื่องใช้ การบำรุงรักษา การทำความสะอาด สิ่งอำนวยความสะดวกสาหรับพนักงาน ความสะอาดสุขลักษณะ และการขนส่ง รวมทั้งต้องพิจารณากิจกรรมและสภาพแวดล้อมที่อาจส่งผลกระทบ
4. Product Control
ในข้อกำหนดมาตรฐาน BRC นั้นจะครอบคลุมทั้งผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ ซึ่งการระบุและประเมินความเสี่ยงในการเกิดหรืออันตรายที่มีต่อความปลอดภัยตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดการและจัดเก็บวัตถุดิบชนิดพิเศษ เช่น สารที่ก่อให้เกิดอาการภูมิแพ้ (food allergen) อินทรีย์สาร การเสื่อมเสีย (food spoilage) เนื่องจากการเก็บรักษา หรือการปนเปื้อนข้ามระหว่างการเก็บรักษา การคัดแยก การหมุนเวียนสินค้า การตรวจจับโลหะและสิ่งแปลกปลอม เป็นต้น ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าสินค้าที่ผลิตมีความปลอดภัย สอดคล้องตามกฎหมาย และได้คุณภาพตามที่ลูกค้าต้องการ
5. Process Control
องค์กรต้องดำเนินการตามขั้นตอนและแสดงให้เห็นถึงการควบคุม เช่น การควบคุมอุณหภูมิ เวลา ปริมาณ เครื่องมือ เครื่องใช้ และการตรวจสอบกระบวนการผลิต การสอบเทียบ ตลอดจนดำเนินการทวนสอบกระบวนการและอุปกรณ์ เพื่อให้สามารถทำการผลิตสินค้าได้อย่างปลอดภัย สอดคล้องตามกฎหมายของผลิตภัณฑ์ และเป็นไปตามคุณภาพที่กำหนดไว้ ซึ่งการควบคุมการปฏิบัติงานทั้งหมด ต้องทำอย่างมีประสิทธิภาพ โดยองค์กรต้องกำหนดระเบียบปฏิบัติการทวนสอบ การเฝ้าติดตามด้วย
6. Personnel
องค์กรต้องมั่นใจว่าพนักงานในองค์กรต้องได้รับการฝึกอบรม และควบคุมให้มีการปฏิบัติไปในทิศทางเดียวกัน รวมถึงพนักงานต้องแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการปฏิบัติตามที่ได้รับมอบหมาย องค์กรต้องจัดทำมาตรฐานการควบคุมสุขลักษณะส่วนบุคคล (personal hygiene) ในเรื่องการเคลื่อนย้ายวัตถุดิบ การแปรรูป การบรรจุ การจัดเก็บรักษา การดูแลการเจ็บป่วย อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล และผู้ประกอบอาหาร การปฏิบัติตนเมื่อเข้าสู่พื้นที่ประกอบอาหารของพนักงานและผู้เยี่ยมชม
อ้างอิงจาก http://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/1702