7 พลาสติก FOOD GRADE สำหรับใช้บรรจุอาหาร
7 พลาสติก FOOD GRADE สำหรับใช้บรรจุอาหาร
พลาสติก Food Grade คือ พลาสติกที่มีความปลอดภัยเมื่อนำมาใช้บรรจุ หรือสัมผัสกับอาหาร ไม่ทิ้งสารตกค้างเมื่อสัมผัสกับอาหาร ซึ่งการสังเกตว่าพลาสติกชนิดไหนเป็น พลาสติก Food Grade นั้น สามารถดูได้จากตราสัญลักษณ์ Food Safe หรือลักษณะของพลาสติกเองได้
CR : https://www.ganshoren.be/
1.พลาสติกเบอร์ 1 PET หรือ PETE (Polyethylene Terephthalate)
เป็นพลาสติกที่ใช้ในการผลิตขวดน้ำต่างๆที่เราพบเห็นได้บ่อยๆ มีคุณสมบัติคือใส สามารถมองเห็นสิ่งที่อยู่ข้างในได้ เช่น ขวดน้ำดื่ม ขวดน้ำมันเป็นต้น
2.พลาสติกเบอร์ 2 HDPE (พลาสติกชนิดความหนาแน่นสูง)
เป็นพลาสติกที่มีความหนาแน่นสูง ยืดหยุ่น ทนทานต่อการ แตก หัก หรือ งอได้ดี ทนสารเคมี และป้องกันความชื้นได้ ทนความร้อนได้เล็กน้อย ควรบรรจุด้วยวิธีบรรจุแบบอุ่น (80-100 องศาเซลเซียส) สามารถทนความเย็นต่ำกว่าจุดเยือกแข็งได้ เหมาะกับการบรรจุอาหารแช่เยือกแข็ง
3.พลาสติกเบอร์ 4 LDPE (พลาสติกชนิดความหนาแน่นต่ำ)
เป็นพลาสติกสายอ่อนนิ่ม ยืดหยุ่นได้ดี มีคุณสมบัตินิ่มและใส ทนต่อการทิ่มทะลุ และการฉีกขาด เหนียว ไม่กรอบแตกง่าย แต่ความแข็งและทนทานน้อยกว่า HDPE ชื่อสามัญเรียกว่าถุงเย็น เพราะไม่ทนต่อความร้อนนิ่ม ไม่ว่องไวต่อปฏิกิริยาเคมี ทนต่อกรดและด่างได้ดี ป้องกันการผ่านของความชื้นได้ดี ออกซิเจนและอากาศซึมผ่านได้ ไขมันซึมผ่านได้ พลาสติก LDPE ได้รับความนิยมในการนำมาใช้เป็นบรรจุภัณฑ์อาหารเช่น ถุงเย็นต่างๆ ฟิล์มหดและฟิล์มยืด ฝาขวด ขวดน้ำ
4.พลาสติกเบอร์ 5 PP (Polypropylene)
พลาสติกสำหรับบรรจุอาหาร เพราะมีความหนาแน่นต่ำ แต่มีจุดหลอมเหลวสูง ทนต่อความร้อนและสารเคมีได้ดี มีความใส ไม่ทนต่อความเย็น มักใช้ในการผลิตถุงทนร้อน ที่เรามักคุ้นหูกันว่า “ถุงร้อนชนิดใส” สามารถบรรจุอาหารขณะที่ร้อนได้ (100- 121 องศาเซลเซียส) แต่ไม่เหมาะกับการบรรจุอาหารแช่เยือกแข็ง
5.พลาสติก PE (Polyethylene)
พลาสติก PE เป็นพลาสติกที่มีการนิยมใช้มากที่สุดในการบรรจุ เนื่องจาก PE มีจุดหลอมเหลวต่ำ เมื่อเทียบกับพลาสติกชนิดอื่น ๆ ทำให้มีต้นทุนในการผลิตต่ำ นิยมใช้ผลิตเป็นถุงร้อน (HDPE) และถุงเย็น (LDPE) / ถุงบรรจุขนมปัง PE ป้องกันการซึมผ่านของไอน้ำได้ดีจึงช่วยป้องกันไม่ให้ขนมปังแห้ง /ถุงบรรจุผักและผลไม้สด เพราะยอมให้ก๊าซซึมผ่านได้ดี ทำให้มีก๊าซออกซิเจนซึมผ่านเข้ามาเพียงพอให้พืชหายใจ และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่พืชคายออกมาก็สามารถซึมผ่านออกไปได้ง่าย และ พลาสติก PE ไม่นิยมใช้เป็นภาชนะบรรจุอาหารที่มีไขมันสูง เช่น เนย ถั่วทอด ขนมขบเคี้ยว
6.พลาสติก IPP (Inject polypropylene)
พลาสิตก IPP มีลักษณะ PP แต่มีความใส เนื้อหนา แข็งแรง และ เงากว่า นิยมนำมาขึ้นเป็นถุง ที่มีจีบด้านข้าง เพื่อมาบรรจุขนม คุกกี่ และเบเกอรี่ต่างๆ วางขายไว้หน้าร้านให้เป็นรูปทรง ดูน่าทาน เนื้อฟิลม์สามารถพิมพ์ลายโลโก้ได้สวยงาม นับว่าการใช้ถุง IPP ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือก ที่คนนิยมเนื่องจากสามารถประหยัดต้นทุนในแง่ของ บรรจุภัณฑ์ เพราะเมื่อเปรียบเทียบ กับบรรจุภัณฑ์สำหรับเบเกอรี่ทั่วไปในท้องตลาดแล้ว ถุง IPP ยังมีราคาถูกกว่า บรรจุภัณฑ์อีก หลายๆชนิด
7. พลาสติก OPP (Oriented polypropylene)
พลาสติก OPP มีจุดหลอมเหลวสูง ทำให้สามารถใช้บรรจุอาหารในขณะร้อนได้ดี หรือ บรรจุอาหารที่ผ่านความร้อนในการฆ่าเชื้อได้ดี ป้องกันความชื้นได้ดี ป้องกันการซึมผ่านของน้ำมันได้ดี นิยมใช้ในการผลิตบรรจุภัณฑ์มีหลายชนิด เช่น ซองไอศกรีม ฉลาก ถุงร้อนของอาหารต่างๆ กล่องอาหาร ถาดพลาสติก เพราะลักษณะใส และเงา สามารถซีลได้ด้วยความร้อน
อ้างอิงจาก https://packingdd.com/