เครื่องหมายการค้า 7 ข้อที่สำคัญ
เครื่องหมายการค้า 7 ข้อที่สำคัญ
7 ข้อสำคัญที่ควรรู้เกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าและชื่อแบรนด์
ชื่อแบรนด์ (Brand Name) คือชื่อที่เราใช้ในการโปรโมทและโฆษณาเกี่ยวกับธุรกิจและสินค้าของเรา เป็นชื่อที่ลูกค้าใช้ในการแนะนำสินค้าหรือบริการให้แก่ผู้อื่นได้รับรู้ การเป็นเจ้าของชื่อแบรนด์ด้วยการยื่นจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า/บริการนั้น มีความสำคัญต่อธุรกิจมาก แล้วเมื่อมันได้รับการจดทะเบียนแล้ว สิทธิดังกล่าวสามารถโอน ปล่อยเช่า หรือถ่ายทอดให้ผู้อื่นใช้ได้เหมือนกับทรัพย์สินทั่วไป
7 ข้อหลักที่ควรทำความเข้าใจมีดังนี้
1. ชื่อแบรนด์ไม่ได้รับการคุ้มครองด้วยลิขสิทธิ์
ชื่อแบรนด์ไม่ได้เป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ แต่จะได้รับการคุ้มครองด้วยการยื่นจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเท่านั้น หลักเกณฑ์คืองานที่มีลิขสิทธิ์จะต้องมีการสร้างสรรค์ที่เพียงพอ แต่ชื่อแบรนด์ถือว่ายังไม่เพียงพอที่จะเป็นงานที่มีลิขสิทธิ์ ไม่ว่าคุณจะทุ่มเวลาหรือทุ่มเงินในการพัฒนาหรือสร้างสรรค์ชื่อนั้นไปมากเท่าใดก็ตาม เพราะจากมุมมองของกฎหมาย ศาลจะตัดสินให้ชื่อแบรนด์เป็นเครื่องหมายการค้าเท่านั้น ไม่ใช่ลิขสิทธิ์
2. เครื่องหมายที่คล้ายกันอาจทำให้เกิดปัญหาได้
จุดประสงค์ของการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคือเพื่อป้องกันการสับสนหลงผิดถึงแหล่งที่มาของสินค้าหรือบริการ ดังนั้น ถ้าชื่อแบรนด์ไปคล้ายกับของคนอื่นที่จดทะเบียนไปแล้ว ก็จะถือว่าคุณได้ไปละเมิดสิทธิของคนๆนั้น และการแก้ไขเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น การปรับเปลี่ยน ตัด หรือเพิ่มตัวอักษร ก็อาจจะยังไม่เพียงพอที่จะหลีกเลี่ยงการละเมิดได้
3. การจดทะเบียนบริษัทและการจด DOMAIN NAME ยังไม่เพียงพอ
การจดทะเบียนนิติบุคคล (บริษัท/ห้างหุ้นส่วน) หรือการจด domain name ไม่สามารถทำให้คุณป้องกันไม่ให้ผู้อื่นใช้ชื่อที่เหมือนกับคุณโดยอัตโนมัติ ถึงแม้ว่าชื่อบริษัทหรือแบรนด์จะได้รับการจด .com คุณยังจะต้องเช็คด้วยว่ามันไม่ซ้ำกับของผู้อื่นที่ได้ยื่นคำขอรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไปก่อนหน้าคุณแล้วเหตุผลอันดับหนึ่งว่าทำไมบริษัทใหม่หลายๆ บริษัทถึงจำเป็นต้องเปลี่ยนชื่อแบรนด์ใหม่ (rebrand) เพียงเพราะว่าเค้ารีบใช้ชื่อแบรนด์บนตัวสินค้าหรือบริการโดยที่ไม่ได้ทำการตรวจสอบชื่อแบรนด์ที่ต้องการใช้ให้ละเอียดผ่านฐานข้อมูลเครื่องหมายการค้าก่อน
4. เครื่องหมายที่ได้รับการจดทะเบียนแล้ว VS. เครื่องหมายที่ยังไม่ได้จดทะเบียน
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นทำให้คุณเป็นเจ้าของสิทธิในชื่อที่คุณสามารถสร้างแบรนด์ให้โตได้ แต่คุณไม่จำเป็นที่จะต้องยื่นจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเพื่อให้สามารถใช้ชื่อนั้นได้ เว้นแต่ชื่อที่คุณใช้ไปทับสิทธิในเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นในการใช้ชื่อแบรนด์ คุณสามารถใช้อักษร TM เพื่อระบุให้ผู้อื่นรับรู้ว่าเป็นเครื่องหมายการค้า แต่ปัญหาของการไม่ยื่นจดทะเบียนคือ คุณจะไม่รู้ว่ามีใครเป็นเจ้าของสิทธิในชื่อที่คุณประสงค์ใช้หรือเปล่า
5. คุ้มครองชื่อแบรนด์ในประเทศที่คุณขอรับจดทะเบียนเท่านั้น
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า “ยื่นในประเทศไหน คุ้มครองในประเทศนั้น” เช่น ถ้ายื่นในไทย คุ้มครองแค่ในประเทศไทย ยื่นในญี่ปุ่น คุ้มครองแค่ในประเทศญี่ปุ่น ฯลฯ
6. เครื่องหมายการค้าต้องระบุจำพวกสินค้าหรือบริการที่ประสงค์ใช้
ชื่อแบรนด์หนึ่งชื่อสามารถใช้ได้ในหลายๆ ประเภทธุรกิจ/จำพวกสินค้า/จำพวกบริการ เว้นแต่ในกรณีที่ธุรกิจนั้น ๆ คล้ายกันหรือทำให้ผู้ซื้อหลงผิดได้ เช่น ถ้า บจก. ไซโคลนไบค์พาร์ท ดังข้อ 2. จะไม่มีปัญหากับคู่กรณีถ้าใช้ชื่อแบรนด์ Cyclone บนสินค้าที่ไม่เกี่ยวข้องกับจักรยาน เช่น เครื่องดื่ม และ อาหาร (เว้นแต่ บจก. ไซโคลน ได้ทำการจดทะเบียนเครื่องหมายในจำพวกเหล่านี้ไว้ก่อนแล้ว)ฯลฯ
7. เครื่องหมายการค้าที่เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายแล้ว
เครื่องหมายที่มีชื่อเสียงหรือเป็นที่รู้จักดีแล้วอาจได้รับขอบเขตการคุ้มครองที่ค่อนข้างกว้าง ซึ่งอาจจะมากกว่าขอบเขตของจำพวกสินค้าหรือบริการที่เครื่องหมายนั้นได้รับการจดทะเบียน เช่น ถ้าคุณจะใช้ชื่อแบรนด์ว่า Red Bull หรือ Coca-Cola ทนายของทั้งสองบริษัทสามารถฟ้องให้คุณระงับการใช้ชื่อแบรนด์ดังกล่าวได้ ถึงแม้ว่าสินค้าหรือบริการของคุณจะไม่ได้เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเครื่องดื่มเลยก็ตาม
อ้างอิงจาก https://idgthailand.com